ถ่ายภาพ Landscape กับ 5 เทคนิค มือใหม่ก็ทำได้

ถ่ายภาพ Landscape
ถ่ายภาพ Landscape

5 เทคนิค ถ่ายภาพ Landscape ให้น่าสนใจ มือใหม่ก็ทำได้

ช่วงปลายปีแบบนี้ หยุดยาวทั้งที พกกล้องไปเที่ยวเก็บภาพวิวกันกับ ‘ 5 เทคนิคถ่ายภาพ Landscape’ จะมีเทคนิคอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

📷 อุปกรณ์เสริมที่ควรมีสำหรับสาย Landscape

– กระเป๋ากล้องพร้อมลุย

– ขาตั้งกล้อง พร้อมถ่าย Long Exposure

– Filter มีไว้อุ่นใจ โกงแสงให้ภาพสวย





1. Composition – จัดวางองค์ประกอบให้น่าสนใจ

ถ่ายภาพ Landscape




📷  จัดวางองค์ประกอบให้น่าสนใจ

นอกจากคุณภาพของภาพแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่จะทำให้ภาพถ่ายของเราสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นก็คือเรื่องของมุมมอง หรือการจัดวางองค์ประกอบภาพ ที่จะช่วยให้ภาพถ่ายของเรามีความน่าสนใจมากขึ้น

📍 สำหรับมือใหม่ อาจจะเริ่มจากการศึกษาและฝึกฝนด้วยหลักการจัดองค์ประกอบภาพพื้นฐานที่มักจะถูกนำมาใช้ในการถ่ายภาพอยู่เสมออย่าง 3 วิธีนี้ก็ได้

– กฏสามส่วน (จุดตัด 9 ช่อง) จัดวางวัตถุให้น่าสนใจ

– การสมมาตร วางจุดสนใจไว้ที่กลางภาพ

– เทคนิคการใช้เส้นนำสายตา เพื่อเน้นจุดสนใจ





2. Silhouette – ใช้เงาเพิ่มความน่าสนใจ

ถ่ายภาพ Landscape




📷 Silhouette ใช้เงาเพิ่มความน่าสนใจในการ ถ่ายภาพ Landscape

การถ่ายภาพแบบ Silhouette คือการถ่ายภาพย้อนแสง เน้นตัวแบบให้เป้นเงาเพื่อสร้างความน่าสนใจ โดยในภาพจะมีทั้งส่วนที่เป็นเงาทึบ และส่วนที่สว่าง ทำให้ภาพของเราดูโดดเด่นขึ้นได้

การตั้งค่ากล้องเบื้องต้น*

– วัดแสงที่ส่วนที่สว่างที่สุดของภาพ

– ใช้รูรับแสงแคบ (Fมาก) เพื่อให้ภาพชัดทั้งภาพ

– สปีดชัตเตอร์ประมาณ 1/125 ขึ้นไป เพื่อไม่ให้แสงเข้ากล้องมากเกินไปจนอาจทำให้ภาพสว่างทั้งภาพ

– ISO ต่ำ ทั้งนี้สามารถเพิ่มขึ้นได้ แต่ต้องควบคุมไม่ให้สูงเกิดไป เพื่อป้องกันการเกิด Noise

*การตั้งค่ากล้อง ควรปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมตามสถานการณ์และสภาพแสงในขณะนั้น





3. Negative Space – เว้นให้ว่าง เน้นให้เด่น

ถ่ายภาพ Landscape




📷 Negative Space เว้นให้ว่าง เน้นให้เด่น

ลองเปลี่ยนจากภาพที่มีวัตถุแน่นเต็มเฟรม มาเล่นกับ Space ว่างๆกัน

Negative Space คือพื้นที่ว่างรอบๆตัวแบบที่เป็น Positive Space การถ่ายภาพลักษณะนี้สามารถเพิ่มความน่าสนใจโดยการจัดวางให้เกิดพื้นที่ว่างเยอะๆ เพื่อเน้นจุดสนใจให้เด่น ทั้งยังให้มุมมองและความรู้สึกที่ต่างออกไปอีกด้วย





4. Long Exposure – ลากชัตเตอร์ จับการเคลื่อนไหว





📷 เทคนิค Long Exposure

Long Exposure เป็นเทคนิคที่มักใช้ในการ ถ่ายภาพ Landscape ซึ่งเป็น การถ่ายภาพโดยใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ทำให้เราสามารถจับภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวได้นุ่มนวล เช่น ถ่ายไฟให้เป็นเส้น ถ่ายสายน้ำหรือเมฆหมอกที่กำลังไหลให้ดูนุ่มนวล

ในการถ่าย Long Exposure ต้องใช้ Shutter Speed ต่ำ การถือกล้องด้วยมือเปล่าจึงไม่นิ่งพอ อาจทำให้ภาพเบลอได้

ดังนั้นอุปกรณ์ที่ต้องมีในการถ่าย Long Exposure ก็คือ “ขาตั้งกล้อง” เพื่อช่วยให้ภาพถ่ายของเราสมบูรณ์แบบมากขึ้น

– รวม 10 อันดับขาตั้งกล้องน่าพกไปเที่ยว: https://www.facebook.com/digital2home/posts/3634326603284103

– เช็คราคา + รายละเอียดสินค้า ‘ขาตั้งกล้อง’ ได้ที่: https://www.digital2home.com/product-category/10-tripod/





5. Filter – ใช้ฟิลเตอร์ช่วยโกงแสง





📷 ใช้ Filter ช่วยโกงแสง

หลายๆครั้งในการ ถ่ายภาพ Landscape เรามักจะเจอกับแสงที่ไม่เป็นใจ แต่มีสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้เราโกงแสงได้นั่นก็คือ “Filter”

Filter เป็นอุปกรณ์เสริมอย่างหนึ่งที่ช่างภาพสาย Landscape ต้องมี ช่วยให้การถ่ายภาพของเราสนุกและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ซึ่งเจ้า Filter มีอยู่หลากหลายชนิดด้วยกัน เช่น

  • – Protector Filter ช่วยปกป้องหน้าเลนส์จากรอบขีดข่วน และฝุ่นละออง
  • – CPL Filter ฟิลเตอร์ตัดแสง Polarizers หรือแสงสะท้อน ช่วยเพิ่มมิติให้กับวัตถุ และดึงสีสันเด่นชัดขึ้น มักใช้ในการถ่ายน้ำที่ไม่ต้องการเงาสะท้อน หรือดึงรายละเอียดและสีของท้องฟ้าให้ชัดเจนขึ้น
  • – ND Filter ฟิลเตอร์ลดปริมาณแสง ทำหน้าที่เหมือนแว่นกันแดด ป้องกันไม่ให้แสงเข้ามาในกล้องเรามากเกินไปจนทำให้ภาพสว่างจ้า ช่วยให้เราถ่ายภาพที่ต้องเปิดรับแสงนานๆอย่างการถ่าย Long Exposure ได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

สามารถสั่งซื้อ “Filter” ได้ที่ https://www.digital2home.com/product-category/filter/





เป็นอย่างไรกันบ้างกับเทคนิคถ่ายภาพ Landscape ที่เราเอามาฝากกัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับมือใหม่สาย Landscape ทุกคนนะคะ ไปเที่ยวที่ไหนอย่าลืมเก็บภาพวิวสวยๆกลับมาฝากกันด้วยน้า

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *