วิธี ถ่ายภาพ ด้วยโหมด M ให้เหมือนมืออาชีพ

สำหรับมือใหม่ส่วนใหญ่จะเลือกใช้โหมด Auto หรือ โหมดสำเร็จรูปในการ ถ่ายภาพ ซึ่งภาพที่ได้อาจจะออกมาดีหรือไม่ ก็แล้วแต่กล้องหรือโหมดสำเร็จรูปต่างๆจะคำนวนให้ แต่ก็มีข้อดี คือช่วยให้การใช้งานทำได้ง่ายๆ ไม่ต้องปรับค่าต่างๆเองให้ยุ่งยาก แค่วางองค์ประกอบให้ดีๆก็ได้รูปสวยๆได้ไม่ยากแล้ว

แต่สำหรับผู้ที่ถ่ายภาพมาได้สักพักหนึ่ง ถ้าคิดว่าถ่ายภาพสวยระดับหนึ่ง สามารถจัดองค์ประกอบภาพได้ดี ถ้าอยากพัฒนาฝีมือในการถ่ายภาพ และควบคุมกล้องได้อย่างเป็นอิสระ ขอแนะนำให้ลองหันมาฝึกใช้โหมด M ครับ โหมด M หรือ Manual ส่วนใหญ่จะคิดว่าเป็นโหมดการถ่ายภาพที่ยากและซับซ้อน แต่จริงๆแล้ว มันไม่ได้ยากอย่างที่คิด การฝึกหัดการควบคุมกล้องด้วยโหมด M เป็นสิ่งที่ควรต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าคุณเข้าใจในการใช้งานในโหมด M แล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปที่จะไปใช้โหมดอื่นๆ

เทคนิคฝึก ถ่ายภาพ ด้วยโหมด M

วิธีการก็คือ ดูว่าเราจะถ่ายภาพลักษณะแบบไหน หากถ่ายภาพที่เน้นระยะชัด(ชัดตื้นชัดลึก) ก็ต้องควบคุมรูรับแสงเป็นอันดับแรก หรือการถ่ายภาพที่ต้องเน้นสปีดชัตเตอร์ (หยุดการเคลื่อนไหว หรือการทำให้ดูเคลื่อนไหว) ก็ต้องควบคุมสปีดชัตเตอร์เป็นอันดับแรก

ตัวอย่างการปรับค่ากล้องในโหมด M เพื่อใช้ถ่ายภาพที่เน้นควบคุมระยะชัด (ชัดตื้นชัดลึก)

  • อันดับแรก ปรับกล้องไปที่โหมด M
โหมด M หรือ Manual เป็นโหมดที่เราจะต้องปรับตั้งค่าทุกอย่างเอง เหมาะกับการถ่ายภาพที่มีสภาพแสงคงที่ไม่เปลี่ยนไปมา หรือการเปลี่ยนสถานที่บ่อย อาจไม่เหมาะกับการใช้ในสถานการณ์เร่งด่วนเพราะอาจทำให้เราเสียโอกาสในการเก็บภาพที่สำคัญไปได้
  • จากนั้นปรับ ISO โดยลองเริ่มที่ ISOต่ำสุดก่อน (100 หรือ 200)
ISO
ถ้าหากฝึกจนชำนาญแล้วจะสามารถคะเนได้ว่าสภาพแสงขณะนั้นจะใช้ ISO เท่าไหร่
  • โหมดวัดแสง เบื้องต้นแนะนำให้ปรับไปที่เฉลี่ยทั้งภาพ
โหมดวัดแสงเฉลี่ยทั้งภาพเป็นโหมดเริ่มต้นที่สามารถใช้ได้กับภาพหลายประเภทตั้งแต่ภาพทิวทัศน์ไปจนถึงภาพทั่วๆไป
  • หากเป็นการถ่ายภาพที่เน้นระยะชัดลึก ก็ปรับรูรับแสงให้แคบหน่อย เช่น ปรับไปที่ F/8 หรือแคบกว่าตามความต้องการ

ตัวอย่างภาพ ปรับไปที่ F/8 สังเกตุที่สเกลวัดแสง ตรงกลางหรือเลข 0 คือค่าแสงพอดี ถ้ามืดไปเข็มจะชี้ไปทางลบ ถ้าสว่างไปเข็มจะชี้ไปทางบวก
โหมด M
รูปตัวอย่าง ถ่ายแสงในห้อง เปิดรูรับแสงที่ F/8 ได้ความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/8 เข็มสเกลวัดแสงชี้ไปที่ -2 แต่ละสภาพแสงอาจให้ค่าที่ต่างกัน
ในที่นี้ เข็มจะชี้ไปทางลบ เพราะแสงเข้ากล้องน้อยเกินไปภาพก็จะมืด
  • ต่อไปเราจะต้องควบคุมระดับแสงให้พอดีกัน ด้วยการปรับสปีดชัตเตอร์จนกว่าเข็มจะชี้ไปที่ตรงกลาง โดยจะไม่ไปยุ่งกับรูรับแสง เพราะเราได้เลือกใช้ที่ F/8 แล้ว
ถ้าสเกลไปทางลบก็ปรับสปีดชัตเตอร์ให้ช้าลง ถ้าสเกลชี้ไปทางบวกก็ปรับสปีดชัตเตอร์ให้เร็วขึ้น พอเข็มอยู่ที่ตรงกลาง ก็จะได้แสงที่พอดีตามเครื่องวัดแสงคำนวนให้แล้วครับ
โหมด M
หมุนแป้นปรับความเร็วชัตเตอร์ จนสเกลวัดแสงชี้ไปที่เลข 0 จึงได้แสงที่พอดี แต่ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำถึง 0.5 วินาที ถ้าใช้ขาตั้งกล้อง ก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าถือถ่าย ยังไงก็เบลอแน่ๆครับ
  • ขั้นตอนต่อไปก็มาดูว่า ค่าสปีดชัตเตอร์ที่ได้มานั่น เร็วพอที่เราจะถือกล้องถ่ายได้โดยที่ไม่สั่นไหวรึเปล่า ถ้าได้สปีดชัตเตอร์ช้าเกินไปก็ ปรับไปที่สปีดที่เราถือถ่ายแล้วไม่สั่น

สปีดชัตเตอร์ที่ถือถ่ายแล้วไม่สั่นไหว อาจใช้กฏ สปีดชัตเตอร์ ไม่ต่ำกว่า 1/ทางยาวโฟกัส เช่น ใช้เลนส์ 50mm ก็ใช้สปีด 1/50 ขึ้นไป (เป็นสูตรโดยประมาณ ขึ้นอยู่กับควาวนิ่งของช่างภาพด้วย) ส่วนความเร็วชัตเตอร์ที่ใช่หยุดการเคลื่อนไหวของตัวแบบ ก็ขึ้นอยู่กับความเร็วในการเคลื่อนไหวของตัวแบบลองดูตามลิงค์นี้ การเลือกความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสม
โหมด M
ปรับความเร็วชัตเตอร์ไปที่ 1/40 วินาที เพื่อได้ความเร็วพอที่จะถือถ่ายได้ สเกลจะติดลบจนภาพมืด เพราะแสงเข้าน้อยเกินไป
เมื่อได้สปีดชัตเตอร์ ที่คิดว่าเราถือโดยไม่สั่นไหวแล้ว หากพบว่าสเกลไม่อยู่ตรงกลางหรือติดลบเนื่องจากแสงไม่พอ ก็ให้ปรับเพิ่ม ISO ขึ้นจนกว่าสเกล เป็น 0 หรือใกล้เคียง (กล้องปัจจุบันมี ISO ออโต้ อันนี้ก็สะดวกดีครับ)
โหมด M
ปรับ iso เพิ่ม จนกว่าจะได้แสงที่พอดี ในที่นี้แสงน้อยจนต้องปรับไปที่ iso2000 จึงได้แสงที่พอดี หากสภาพแสงน้อยกว่านี้ อาจต้องปรับ iso เพิ่มขึ้น
  • หากความเร็วชัตเตอร์ 1/40 ถือถ่ายแล้วยังคิดว่าไม่นิ่งพอ อาจเพิ่มเป็น 1/60 หรือมากกว่า
โหมด M
หากความเร็วชัตเตอร์ 1/40 ถือถ่ายแล้วยังไม่นิ่งพอ อาจเพิ่มเป็น 1/60 หรือมากกว่า ในที่นี้ ปรับเป็น 1/60 สเกลวัดแสงจะแจ้งว่า อันเดอร์ไป 2/3 สต็อป
  • ปรับ iso เพิ่มจนสเกลเป็น 0 
เมื่อปรับความเร็วชัตเตอร์เพิ่มขึ้น ก็ต้องปรับ iso ขึ้นตามจนสเกลเป็น 0
โหมด M
ปรับเพิ่ม iso เป็น 3200 สเกลชี้ไปที่ 0 คือแสงพอดี
(กรณีนี้แนะนำให้ใช้ขาตั้งกล้อง เพราะจะทำให้ถ่ายภาพที่ความเร็วชัตเตอร์ต่ำได้ โดยที่ไม่ต้องเพิ่ม iso สูงๆครับ) แค่นี้เราก็จะได้ภาพถ่ายที่แสงพอดี ด้วยโหมด M แล้วครับ ส่วนถ้าหากถ่ายออกมาแล้วภาพมืดหรือสว่างเกินไป เราสามารถปรับให้สเกลไปอยู่ทางด้านลบหรือบวกได้ตามความต้องการ หลักการก็เหมือนการชดเชยแสงในโหมด P, A(AV) หรือ S(TV) เพียงแต่เราต้องควบคุมเองเท่านั้นครับ ส่วนใครยังไม่เข้าใจเรื่องการชดเชยแสง ดูตามลิงค์ในภาพครับ สรุปการปรับค่ากล้องในโหมด M เพื่อใช้ ถ่ายภาพ ที่เน้นควบคุมระยะชัดเป็นหลัก 1. ปรับ ISO ไปที่ค่าต่ำสุด 2. กำหนดค่ารูรับแสงที่ต้องการ 3. แตะปุ่มชัตเตอร์ครึ่งหนึ่งเพื่อให้ระบบวัดแสงทำงาน 4. ปรับความเร็วชัตเตอร์ ให้สเกลเป็น 0 (ค่าแสงพอดี) 5. ถ้าได้ความเร็วชัตเตอร์ที่คิดว่าถ่ายได้โดยไม่สั่นไหวก็ถ่ายได้เลย 6. ถ้าได้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำเกินไป ให้ปรับไปที่ค่าที่คิดว่าเราถือถ่ายได้โดยไม่สั่นไหว 7. ถ้าสเกลไม่อยู่ตรงกลางหรือติดลบ ให้ปรับความไวแสง (ISO) จนกว่า สเกลจะเป็น 0 หรือใกล้เคียงที่สุด สรุปการปรับค่ากล้องในโหมด M เพื่อใช้ ถ่ายภาพ ที่เน้นควบคุมความเร็วชัตเตอร์เป็นหลัก 1. ปรับ ISO ไปที่ค่าต่ำสุด 2. กำหนดค่าควาเร็วชัตเตอร์ที่ต้องการ 3. แตะปุ่มชัตเตอร์ครึ่งหนึ่งเพื่อให้ระบบวัดแสงทำงาน 4. ปรับ F (รูรับแสง) ให้สเกลเป็น 0 (ค่าแสงพอดี) 5. ถ้าเปิด F กว้างสุดแล้ว สเกลยังติดลบ(ภาพมืด) ให้ปรับความไวแสง (ISO) จนกว่า สเกลจะเป็น 0 หรือใกล้เคียงที่สุด เมื่อเราเข้าใจการทำงานในโหมด M แล้ว หลังจากนั้นจะไปใช้โหมดไหนก็ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็น โหมด A หรือ โหมด S ก็เลือกปรับใช้ตามสะดวกได้เลยครับ อย่างไรก็ตาม อย่าเข้าใจว่า โหมดMเป็นโหมดที่ดีที่สุดหรืออยากเป็นมืออาชีพต้องใช้โหมด M นะครับ เพียงแต่ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์เท่านั้นเอง สวัสดีครับ. digital2home camera fair 2017กล้องถ่ายรูปและอุปกรณ์ราคาพิเศษคลิก 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *